วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของสมุนไพร

ความหมายของสมุนไพร
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น"พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร


ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

บทความเรื่องทั่วไป

เรื่องทั่วไป: “อ้วน” สาเหตุหลักก่อโรคมะเร็ง
พบผลจากการมีน้ำหนักเกิน การกินอาหาร ไม่ออกกำลังกาย ทำคนป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงสุดโดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่3 แสนคนต่อปีหนังสือพิมพ์เดอะเดลี่เทเลกราฟฉบับออนไลน์รายงานว่าทีมนักวิจัยเรื่องโรคมะเร็งจากประเทศอังกฤษได้ศึกษาล่าสุดพบว่าโรคอ้วนได้กลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกัน ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวนี้กำลังจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการระดับว่าด้วยเรื่องโรคมะเร็ง


เรื่องทั่วไป: สูตรผอมเลือกได้

บริโภคอย่างมีสติ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ บางคนอาจคิดว่าพยายามรับประทานน้อยอยู่แล้ว แต่ทำไมน้ำหนักไม่ลด แถมบางครั้งยังเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นเพราะมีหลายคนที่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ เกี่ยวกับแนวทางการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และยังมองข้ามรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างแต่มีความสำคัญ



เรื่องทั่วไป: 6 อาหารเปี่ยมวิตามินป้องกันโรค
6 อาหารเปี่ยมวิตามินป้องกันโรค นอกจากการออกกำลังกายแล้ว อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรค อย่างเช่น อาหาร 6 ชนิดที่เปี่ยมด้วยวิตามินป้องกันโรค
1. ถั่วเหลือง เป็นอาหารของชาวเอเชียมาช้านาน ในถั่วเหลืองมีโปรตีนที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนไม่กินเนื้อสัตว์ที่น่าสนใจก็คือ ในถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว Phytosterin และ Isotiavone ของตัวนี้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดนอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวิตามินบี อี กรดลิก โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ป้องกันโรค จากการศึกษาพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ป้องกันอาการของหญิงวัยทอง และช่วยปกป้องกระดูก หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันมะเร็งได้
2. แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยวิตามินและกากใยอาหาร โดยเฉพาะโพแทลเซียมที่ช่วยในการขจัดน้ำ นอกจากนี้ยังมีสาร Quercetin สูง รวมทั้ง ฟลาโวนอยด์จากสีของมัน ซึ่งจะช่วยในการดักจับอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค จากการค้นคว้าทดลองพบว่าแอปเปิ้ลช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งปอด พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและรักษาโรคหืดและเบาหวานอีกด้วย
3. ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก ฯลฯ ถั่วเปลือกแข็งมีโปรตีนสูงและมี Phytosterin ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี และกากใยอาหารสูง ป้องกันโรค ช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี จากการศึกษาพบว่าถั่วเปลือกแข็งช่วยลดคอเลสเตอรอล และจากการศึกษาของนักวิชาการชาวเม็กซิกันพบว่า การกินถั่วเปลือกแข็งทุกวันช่วยป้องกันคนไข้โรคหัวใจไม่ให้เป็นโรคหัวใจขั้นที่สอง
4. ข้าวสาลี หากขาดข้าวจะทำให้เราไร้เรี่ยวแรง ไม่ว่าข้าวหรือก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ทำให้อิ่มเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพดีอีกด้วย นักวิจัยคาดว่า กรด Feruia จากข้าวสาลีไม่ขัดสีเป็นสารแอนตื้ออกซิแดนต์ และมีสาร Lignan ซึ่งคล้ายกับฮอร์โมน เอสโตรแจน และยังมีกากใยอาหาร วิตามินบี และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ป้องกนโรค ข้าวสาลีไม่ขัดสีช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง หากใครที่กินข้าวสาลีไม่ขัดสีเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ถึง 26% และมีความเสี่ยงต่ำกับโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องลำไส้ ส่วนจมูกข้าวสาลี ช่วยลดคอเลสเตรออล
5. พริก ไม่ว่าจะเป็นพริกหวาน พริกขี้หนู หรือพริกอื่นๆ ความเผ็ดของมันคือพลัง ซึ่งชาวโลกนำมาเป็นสมุนไพร ในพริกมีสาร Capsaicin และมีแคโรทีนอยด์เกือบ 40 ชนิด นอกจากนี้ยังมี Polyphenol ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ มีวิตามินสูงโดยเฉพาะวิตามีนซี โพแทสเซียม และแคลเซียม ป้องกันโรค ปวดกล้ามเนื้อ ตะคริว ปวดฟัน นอกจากนี้สาร Capsaicin ยังใช้ภายนอกได้โดยการช่วยลดอาการตึงกล้ามเนื้อ (พลาสเตอร์) นอกจากนี้ มันยังฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยให้เจริญอาหารและย่อยอาหาร และมีสารแอนตื้ออกซิแดนต์สูงแต่ความเผ็ดของพริกเป็นอันตรายต่อกระเพาะหากทานมากเกินไป แต่มีข้อดีคือเพิ่มพลังให้แก่เยื่อกระเพาะ
6. ผักกะหล่ำ เช่น บร็อกโคลี่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มีวิตามินสูง เช่น วิตามินซี โพแทสเซียม กรดโฟลิก เหล็ก และแคโรทีนอยด์ มี Glucosinate ซึ่งมีประสิทธิภาพอ่อนๆ เหมือนยาปฏิชีวนะ ป้องกันโรค ควรกินผักที่เป็นหัวแบบดิบๆ จะได้สารอาหารเต็มที่ หากทำให้สุกก็จะเหลือคุณค่าแค่ครึ่งเดียว


เรื่องทั่วไป: "เหงื่อ"บอกโรค

เหงื่อจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น 2 อย่าง คือ ความร้อน และอารมณ์ ในทางการแพทย์ระบุว่า เหงื่อสามารถบ่งบอกอาการของโรคบางชนิดได้ในนิตยสาร "ชีวจิต" ฉบับ พ.ย. พ.ญ.เมทินี ไชยชนะ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลฝาง จ.เชียงใหม่ อธิบายว่า โรคที่สัมพันธ์กับเหงื่อมี 2 ประเภท คือ
1.โรคที่ทำให้เหงื่อออกมาก
- เครียด เหงื่อจะออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้ และหน้าผาก ประกอบกับมีอาการอื่นร่วม เช่น ชีพจรเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น
- ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ หรือ คอพอก เหงื่อจะซึมออกมาทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง ร่วมกับมีอาการขี้หงุดหงิด มือสั่น ขี้ตกใจ น้ำหนักลด ตาโปน ผมร่วง เหนื่อยง่าย ใจสั่น หิวน้ำบ่อย- วัณโรค เหงื่อออกมากทั่วตัวในเวลากลางคืน สลับกับเป็นไข้ ไอเรื้อรัง




สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับเส้นผม

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับเส้นผม

ทรงผมหรือเส้นผม
เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้ สิ่งที่ควรคำนึงในหารดูแลเส้นผม ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีนที่ได้จากเนื้อ นม ไข่ ฯลฯ และวิตามิน A,C,E,B5 ที่ได้จากผลไม้ต่างๆและธัญพืช จำพวกถั่ว งา ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ


น้ำตะไคร้ : บำรุงผมให้ดกดำเงางาม และแก้ปัญหา ผมแตกปลาย กระเทียม : รักษารากผมและช่วยให้ผมหงอกช้า
เปลือกส้มเขียวหวาน : แก้ผมร่วง และดับกลิ่นเหงื่อ ศีรษะล้านขิง : ปลูกผมบนรอยแผลเป็นที่ศีรษะ
มะกรูด : ป้องกันรังแคและบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
มะกรูด : แก้ปัญหาเส้นผมใหญ่และดกดำ
ว่านหางจระเข้ : บำรุงผมดกดำเงางาม
มะละกอสุก : ช่วยแก้ปัญหาผมมัน
น้ำมะนาว : บำรุงเส้นผมให้เงางาม

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวกาย

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวกาย
จะเปล่งปลั่งนุ่มนวลไร้รอยกร้าน และรอยหมองคล้ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย และยังมีการถนอมผิว บำรุงผิวอีกหลายๆรูปแบบ สมุนไพรพื้นๆ ที่มีอยู่ทั่วๆไปเอามาใช้บำรุงผิว ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีจึงอยากบอกต่อ รับรองว่าผิวคุณจะสวยขึ้นแน่นอน
มะนาว : ช่วยให้ผิวลำคอขาวแต่งตึง
มะนาว : ช่วยขจัดรอยแห้งกร้าน
ขมิ้นสด : บำรุงผิวให้ขาวเนียนนวล
สับปะรด : ขัดผิวขาวไร้รอยแห้งกร้าน
กล้วยหอมสุก : ช่วยให้ผิวมือนุ่มไม่หยาบกร้าน

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า


ใบหน้า
คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ
1. ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle)
คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย
การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าแพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว
นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้
2. งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L)
เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน
3. แตงกวา (Cucumis sativas Linn.)
จะมีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบัน มีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช้วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล
4. มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.)
ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสด นำมาพอกหน้า จะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึง หรืออาจจะฝานบางๆ แปะลงบนผิวหน้าก็ได้
5. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.)
ในขมิ้น จะมีสาร Curcumin และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ได้อีกด้วย
6. น้ำผึ้ง (Apis dorsata)
ได้จากผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ขี้ผึ้ง อัลบูมินอยด์ ละอองเกสรดอกไม้ และฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวนเล็กน้อย น้ำผึ้งใช้เป็นส่วนประกอบ ของเครื่องสำอาง ใช้พอกหน้า ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื่น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยสมานผิว น้ำผึ้ง เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์สูง และหาง่าย นอกจากนี้ ยังใช้น้ำผึ้งบำรุงผม ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม
7. มะขามเปียก (Tamarindus indica Linn)
มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนัง เพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่น และนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้

สูตรบำรุงผิวหน้า


แตงโม



สรรพคุณ บำรุงผิว ให้ชุ่มชื้นสดใส
วิธีทำ ใช้เนื้อแตงโมปั่น ให้ละเอียดทาทั่วผิวหน้า แล้วใช้ผ้าบางๆ หรือผ้ากรอสคลุมไว้ ประมาณ 10-15 นาที จึงล้างอกด้วยน้ำสะอาด ผิวหน้าจะชุ่มชื้นสดใสไม่แห้งกร้าน
Powered By Blogger